DOWN LOAD WEBSITE

  • โครงการวิจัยย่อย 2 ชุดโครงการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ การปรับตัวต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จังหวัดอุดรธานีและลุ่มน้ำห้วยหลวง: “การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวงและผลกระทบต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยหลวงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน - 2557)

    การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลกและส่งผลกระทบต่อปริมาณฝนซึ่งทำให้รูปแบบการตกของฝนและการกระจายตัวของฝนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม พื้นที่ลุ่มน้ำในประเทศไทยได้รับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเช่นเดียวกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่น ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำฝนและน้ำท่าทำให้มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ซึ่งในปัจจุบันมีความรุนแรงและความถี่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละรอบปี จากผลงานวิจัย (สุจริต และคณะ 2553, Chinvanno, S. and Snidvongs, A. 2007, Plangoen, P. et al. 2013, Shrestha et al. 2013) ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณฝนทำให้ปริมาณฝนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีผลกระทบต่อปริมาณน้ำฝนหลายด้าน เช่น การเพิ่มความถี่ พลังงานงานและความเข้มของฝน (Zhang et al. 2010, Pruski and Nearing. 2002) ซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณฝนและปริมาณน้ำท่าทำให้มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลและส่งผลกระทบการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำท่าประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงการภูมิอากาศและการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำท่าจะส่งกระทบต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำซึ่งทำให้ปริมาณน้ำเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและนำไปสู่ปัญหาในการจัดสรรทรัพยากรน้ำ และปัญหาความขัดแย้งการแย่งน้ำ ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เช่นภาคอุสาหกรรมและภาคการเกษตรซึ่งทำให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการแก้ไขผลกระทบดังกล่าว

    ดาวน์โหลดที่นี่