DOWN LOAD WEBSITE

  • โครงการศึกษาการปรับตัวของเกษตรกรปลูกข้าวในทุ่งระโนดต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2557)

    พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อทําการเกษตรหลากหลายชนิด อาทิ การปลูกยางพารา การทํานาข้าว การทํานากุ้ง การปลูกปาล์มน้ำมัน การทําไม้สวนผสม เป็นต้น โดยพื้นที่ปลูกข้าวที่สําคัญในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ราบส่วนกลางของจังหวัดพัทลุงและพื้นที่ทุ่งระโนดในคาบสมุทรสทิงพระ โดยพื้นที่นาข้าวทั้งสองแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของภาคใต้ตอนล่าง อย่างไรก็ดี เนื่องจากการทํานาข้าวจําเป็นต้องใช้น้ำมาก ดังนั้น บริเวณที่มีการทํานาข้าวกันมากและทํานาปีละ 2 ครั้ง จึงมีความต้องการใช้น้ำในฤดูเพาะปลูกในปริมาณที่สูงมาก

    การศึกษานี้เลือกพื้นที่ปลูกข้าวในทุ่งระโนดเป็นพื้นที่ศึกษา การปลูกข้าวในทุ่งระโนดครอบคลุมพื้นที่ 85,000 ไร่ และเป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของฝ่ายส่งน้ำและบํารุงรักษาที่ 1 โครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาระโนด-กระแสสินธุ์ เนื่องจากบริเวณทุ่งระโนดมีการทํานาหว่านปีละ 2 ครั้ง คือครั้งแรกปลูกข้าวนาปีในฤดูฝน (เดือนตุลาคม-มกราคม) และครั้งที่สองปลูกข้าวนาปรังในฤดูแล้ง (เดือนเมษายน -สิงหาคม) โดยมีเป้าหมายของการศึกษา คือการศึกษาความเสี่ยง ความเปราะบาง และการปรับตัวของระบบการปลูกข้าวในทุ่งระโนด โครงการศึกษานี้เน้นวิเคราะห์ความเสี่ยงและความเปราะบางของระบบปลูกข้าวในทุ่งระโนดต่อผลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาพเศรษฐกิจ และสังคม ทั้งจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และในอนาคต รวมถึง การวิเคราะห์ความพร้อมในการตอบสนองของระบบปลูกข้าวและกลยุทธในการปรับตัวเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ สภาพเศรษฐกิจ และสังคมในอนาคต

    ดาวน์โหลดที่นี่