DOWN LOAD WEBSITE

เป้าหมายของการปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

เป้าหมายสำคัญของการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศคือ การปรับตัวเพื่อนำสังคมไปสู่การเป็นสังคมที่มั่นคงและทนทานต่อความเสี่ยงจากภูมิอากาศ (Climate Resilience Society) ในการวางแผนหรือยุทธศาสตร์ ผู้วางนโยบายควรจะต้องปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) หรือกรอบแนวคิดในการวางแผน โดยขยายกรอบการมองอนาคตออกไปให้ไกลมากขึ้น และหันมามองประเด็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในแง่การพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้สถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต

ผู้วางแผนควรมองเป้าหมายของการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศใน 2 ประเด็น คือ

RESILIENCE

การสร้างความมั่นคงและเข้มแข็ง (Resilience) ของชุมชน ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต

โดยให้เกิดความมั่นใจได้ว่าสังคมจะยังคงสามารถดำเนินวิถีชีวิตหรือบริหารจัดการความเสี่ยงจากสภาพอากาศได้อย่างเหมาะสมในอนาคต

ROBUSTNESS

การวางนโยบายหรือยุทธศาสตร์ การพัฒนาต่างๆ ให้มีความทนทาน (Robustness)

ต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต เพื่อให้แผนพัฒนาต่างๆ จะยังคงดำเนินไปได้และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้หากภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

ทั้งนี้ ผู้วางแผนต้องเชื่อมโยงเป้าหมายในปัจจุบันและอนาคตเข้าด้วยกัน โดยแผนพัฒนาดังกล่าวจะต้องสร้างประโยชน์ในปัจจุบันและยังคงสามารถบรรลุเป้าหมายในอนาคต เพื่อที่จะได้สามารถกำหนดความคุ้มค่าของการดำเนินการ มิเช่นนั้นการวางแผนที่มองประเด็นอนาคตเป็นที่ตั้งอย่างเดียวก็อาจเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมได้ยาก เนื่องจากความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น

เมื่อเราจับประเด็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนี้ในแง่ของการพัฒนาก็อาจพิจารณาการปรับตัวในแง่ของ

การปรับทิศทาง
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ในปัจจุบันของภาคส่วน
และพื้นที่ต่างๆ

การปรับวิธีขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ที่มีอยู่
เพื่อให้สอดคล้องกับ
แนวโน้มการเปลี่ยน
แปลงในอนาคต

การแสวงหาแนวคิด
ใหม่หรือกลไกใหม่
ในการจัดการความเสี่ยง
ที่มีประสิทธิภาพ
มากขึ้น

การปรับ กระบวนทัศน์ Paradigm Shift

การปรับมุมมองและวิธีคิดต่อการวางแผน
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

  • มองการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในกรอบของการพัฒนา โดยคิดถึงการปรับตัว ในแง่ของการจัดการความเสี่ยงที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงด้าน เศรษฐกิจและสังคมประกอบกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต ทั้งนี้จุดตั้งต้นในการวางแผนอาจจะไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแต่เป็นเรื่องของความเสี่ยงของสังคมในปัจจุบันและอนาคต
  • ปรับแนวคิดของการวางแผนในกรอบเวลาที่ยาวนานกว่ากรอบเวลาที่คุ้นเคย ซึ่งจะใช้การคาดการณ์อนาคตที่แม่นยำไม่ได้ แต่ต้องคิดถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ และหาแนวทางที่จะก้าวไปสู่อนาคตอย่างมั่นคงภายใต้สถานการณ์ที่หลากหลาย
  • การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีรูปแบบและแง่มุมในการวางแผนที่หลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่และภาคส่วน ทั้งนี้ต้องคำนึงว่าแต่ละภาคส่วนและพื้นที่นั้นมี บริบทที่เฉพาะเจาะจงโดยขึ้นกับสถานการณ์แต่ละห้วงเวลาด้วย